ระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประเพณีอำเภอเขาค้อ ด้วยหลักการออนโทโลยี
Recommendation System Khao Kho Culture and Tradition Tourism by Ontology
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประเพณี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อพัฒนาระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประเพณี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ในรูปแบบออนโทโลยี และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประเพณี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ในรูปแบบออนโทโลยี ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประเพณีจากเว็บไซต์ และผู้มีความรู้/ผู้เชี่ยวชาญ 2) การพัฒนาระบบแนะนำ ประกอบด้วย ฐานความรู้ออนโทโลยี ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ด้วย โปรแกรม MySQL ภาษา SPARQL command สำหรับประมวลผลออนโทโลยี และภาษา Python และ PHP เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น และ 3) ประเมินประสิทธิภาพระบบแนะนำโดยใช้การหาค่า precision, recall, F-measure และประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ต่อระบบ ผลการวิจัยพบว่า ฐานความรู้ออนโทโลยี มี 3 ระดับชั้น จำนวน 25 โหนดความรู้ และมี 5 กฎในการแนะนำ การประเมินประสิทธิภาพระบบแนะนำได้ค่า F-measure เท่ากับ 88.9% และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.59, SD=0.57)
References
Butdisuwan, S. (2013). Basic issues in digital libraries: The 21st century knowledge centers.
Narayanduda, Hyderabad: Professional Books Pub.
Chocktumrong Jongjahoh.(2011). Using benefits from ontology in information services. Thesis in PH.D.
(information study) Khonkhan university.
Kaokor subdistrict administration organization. Basis information of Kaokor district. (2017). Retrieved from:
https://www.khaokho.go.th.
Lasmedi Afuana and Nurul Hidayat. (2019). Ontology model for tourism information in Banyumas. AIP Conference Proceedings Volume 2094 Conference date: 14–15 November 2018 at Central Java, Indonesia.
L. Kerschberg, M. Chowdhury, A. Damiano, H. Jeong, S. Mitchell, J. Si, and S. Smith. (2004).
Knowledge Sifter: Ontology-Driven Search over Heterogeneous Databases. USA :
George Mason University.
Pramote Sittijuk and Wiraiwan Sanchana. The development of Mungkala knowledge management system
in the lower northern area for promoting thai culture using ontology and semantic Wikipedia.
(2013). Research journal of Ratjabat chaingmai Vol 15, No 1 (October 2013 – march 2014), pp(59- 72).
Supranee Tupmongkol and Sirikanjana Pilabutr. Thailand's tourism semantic web with ontology (RDF and
SPARQL). (2016). APHEIT Journal Science & Technology, Vol 5 No 2 (July – December 2016), pp(5-
11).
Seksan Sivilai and Chakrit Snae. (2013). The development of a question - answer system for
recommending appropriate food for patients. Academic conference National Level in Information