ความพึงพอใจของผู้เขียนในการตัดสินใจเลือกส่งบทความเข้ารับการตีพิมพ์ในวารสาร Environment and Natural Resources Journal*
Author’s Satisfaction with the Decision to Submit an Article in the Journal of Environment and Natural Resources Journal*
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบความพึงพอใจของผู้ส่งบทความเข้ารับการตีพิมพ์ในวารสาร Environment and Natural Resources Journal (EnNRJ) โดยทำการวิเคราะห์และนำผลประเมินมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินการวารสารในด้านต่างๆ เพื่อรักษาระดับคุณภาพเดิมของวารสาร ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 94 คน โดยใช้แบบสอบถาม มีลักษณะคำถามแบบปลายปิดและปลายเปิด และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา พบว่า (1) ด้านคุณภาพวิชาการของวารสาร ผู้เขียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ในเรื่องวารสารอยู่ในฐานข้อมูลวิชาการที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม (4.45±0.80) (2) ด้านระบบการจัดการวารสาร ผู้เขียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในด้านวารสารเป็นแบบเสรี (Open Access Journal) มีการเผยแพร่ให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเอกสารแบบออนไลน์ได้ฟรี (4.60±0.68) และเรื่องวารสารไม่เก็บค่าธรรมเนียม (No publication fees) (4.60±0.69) (3) ด้านเว็บไซต์ ผู้เขียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ในด้านการสืบค้นวารสารบนอินเทอร์เน็ตมีความสะดวกและง่ายต่อการค้นหา (4.37±0.73) และ ข้อมูลไฟล์ แนบ/การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ มีความถูกต้อง (เช่น ไฟล์ PDF บทความ หรือการคลิกลิงก์ชื่อบทความแสดงข้อมูลตรงตามข้อมูลที่ปรากฏ) (4.37±0.73)
(4) ด้านกระบวนการทำงานของวารสาร ผู้เขียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในด้านการแจ้งเตือนผู้เขียนทาง e-mail เมื่อได้รับการตีพิมพ์ฉบับสมบูรณ์เป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนต้องการมากที่สุด (4.38±0.72) และ (5) ด้านรูปแบบบทความ ผู้เขียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในเรื่องขนาดตัวอักษรและรูปแบบตัวอักษรอ่านง่ายและสวยงาม (4.45±0.70) สำหรับผลการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานทำให้ทราบว่า สัญชาติ เพศ และสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีผลต่อความ พึงพอใจในการตัดสินใจเลือกส่งบทความเข้ารับการตีพิมพ์ในวารสาร EnNRJ โดยปัจจัยที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุด ได้แก่ (1) บทความในวารสารถูกนำไปใช้ในการอ้างอิง (Citation) จำนวนมาก (2) วารสารไม่เก็บค่าธรรมเนียม และ (3) ความเหมาะสมของจำนวนการออกวารสาร (ฉบับ/ปี)