การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ *

E-books Usage by Humanities Graduate Students in Public Universities *

  • คมเดช บุญประเสริฐ สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • น้ำทิพย์ วิภาวิน สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • โกวิท รพีพิศาล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
Keywords: การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, สาขามนุษยศาสตร์, E-books Usage, Humanities Graduate Students

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำแนกตามเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ จำนวน 374 คน จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 9 แห่ง ใน 4 กลุ่มสาขาวิชาคือ 1) ภาษาและภาษาศาสตร์ 2) วรรณคดีและวัฒนธรรม 3) ประวัติศาสตร์และโบราณคดี 4) ปรัชญา ศาสนาและเทววิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test และ One Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐส่วนใหญ่มีสภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยมีรูปแบบการอ่านเนื้อหาเฉพาะส่วนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.34) ประเภทเนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24) เพื่อทำรายงานและหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.18) มีวิธีการเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเครื่องมือช่วยค้นที่เป็นเสิร์จเอ็นจิ้นอยู่ในระดับมาก ( = 4.72) 2) เปรียบเทียบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา โดยเพศชายมีการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งเล่มมากกว่าเพศหญิง เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่านักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 26 ปีมีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาที่มีอายุ 26 ปีขึ้นไป เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่านักศึกษาระดับปริญญาเอก มีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาระดับปริญญาโท เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชานักศึกษาพบว่ากลุ่มสาขาวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ มีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาภาษาและภาษาศาสตร์

References

Chan, G. R. Y. C., & Lai, J. K. (2005). Shaping the strategy for e-books: A Hong Kong perspective. Library Collections, Acquisitions, & Technical Services, 29(2), 205–219.

Churuangsukh, J. (2009). The usage of and needs for electronic books: A case study in the Health Science Library, Prince of Songkla University. Songkha: Prince of Songkla University. (In Thai).

Croft, R., & Bedi, S. (2005). eBooks for a distributed learning university: The Royal Roads University case. Journal of Library Administration, 41(1), 113-137.

Croft, R., & Davis, C. (2010). E-books revisited: surveying student e-book usage in a distributed learning academic library 6 years later. Journal of Library Administration, 50(5/6), 543-569.

Education Data Center, Office of the Higher Education Commission. (2015). Sathiti Udomsưksa. Retrieved April 16, 2016, from http://www.info.mua.go.th/info/. (In Thai).

Gregory, C. L. (2008). But I want a real book: An investigation of undergraduates usage and attitudes toward electronic books. Reference & User Services Quarterly, 47(3), 266-273

Hwang, J. Y., Kim, J., Lee, B., & Hwan Kim, J. (2014). Usage patterns and perception toward e-books: Experiences from academic libraries in South Korea. The Electronic Library, 32(4), 522–541.

Khemakarothai, W. (2015). E-book usage of students in Kasetsart University. PULINET Journal, 2(2), 37-44. (In Thai).

Kumkeam, J. (2015, May 15). Interview. Staff. Education Data Center, Office of the Higher Education Commission. (In Thai).

Lamothe, A. (2013). Factors influencing the usage of an electronic book collection: Size of the e-book collection, the student population, and the faculty population. College & Research Libraries, 74(1), 39-59.

Mulholland, E., & Bates, J. (2014). Use and perceptions of e-books by academic staff in further education. Journal of Academic Librarianship, 40(5), 492–499.

Nicholas, D., Rowlands, I., Clark, D., Huntington, P., Jamali, H. R., & Ollé Castellà, C. (2008). UK scholarly

e-book usage: A landmark survey. Aslib Proceedings, 60(4), 311–334.

Saraphon, T., & Manmart, L. (2020). E-book usage behavior of users in Thai academic libraries. TLA Research Journal, 13(2), 77-95. (In Thai).

Staiger, J. (2012). How E-books are used. Reference & User Services Quarterly, 51(4), 355-365.

Published
2022-06-06
How to Cite
บุญประเสริฐ ค., วิภาวินน., วัฒนกุลเจริญ ท., & รพีพิศาล โ. (2022). การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ *. Information - อินฟอร์เมชั่น, 29(1), 79-98. Retrieved from http://infojournal.kku.ac.th/index.php/information/article/view/528