การจัดการความรู้จักสานตะกร้าหวายลายวิจิตร: กรณีศึกษา หมู่ 6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Knowledge Management of Wichit Pattern Rattan Woven Baskets: A Case Study of Village No.6 Maha Son Sub-district Ban Mi District Lop Buri Province
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การจัดการความรู้การจักสานตะกร้าหวายลายวิจิตร หมู่ 6 ตาบลมหาสอน อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ใน 3 ด้าน คือ 1) บริบท 2) กระบวนการจัดการความรู้ และ 3) ปัญหาการจัดการความรู้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) 2) การสังเกต (Observation) และ 3) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มประชากรกาหนดขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จานวน 12 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) การจักสานตะกร้าหวายลายวิจิตร หมู่ 6 ตาบลมหาสอน อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พัฒนามาจากการจักสานลอบดักปลา กระจาด ฯลฯ มีการถ่ายทอดความรู้การจักสานตะกร้าหวายลายวิจิตรจากผู้รู้สู่ลูกหลานและผู้สนใจในชุมชน 2) กระบวนการจัดการความรู้ เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวบุคคล ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีการดาเนินการภายในครอบครัวและชุมชนเท่านั้น วิธีการถ่ายทอดความรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง มีการแสวงหาความรู้จากการเรียนรู้ร่วมกันและจากสื่อต่าง ๆ ยังไม่มีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่มีการจัดเก็บความรู้ที่เป็นระบบ และไม่มีการเผยแพร่ที่เป็นทางการ 3) ปัญหาในการจัดการความรู้ คือ ผู้รู้ส่วนใหญ่ที่มีอายุมากเลิกจักสาน คนรุ่นใหม่ไม่สนใจการจักสาน ไม่มีการบันทึกความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร ขาดผู้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี จึงไม่มีการจัดทาฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าถึงและการเผยแพร่ เป็นต้น