กลยุทธ์การจัดการความรู้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ

Knowledge Management Strategy of Public Universities' Libraries

  • ศุมรรษตรา แสนวา
Keywords: กลยุทธ์การจัดการความรู้ในห้องสมุด, การจัดการความรู้ในห้องสมุด, ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการความรู้ และปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษากลยุทธ์การจัดการความรู้และปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ขอห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมหาลัยวิทยาลัยจำนวน 9 แห่ง รวมจำนวน 14  คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) ศึกษาสภาพจริงเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการความรู้และปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  26 แห่ง จำนวน  246 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนส่วนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การจัดการความรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มี 9 ด้านได้แก่  1)  ด้านความรู้เป็นเสมือนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 2) ด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 3) ด้านความรับผิดชอบสินทรัพย์ความรู้ส่วนบุคคล 4) ด้านการสร้างความรู้  5) ด้านการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ 6) ด้านความรู้ที่เน้นผู้ใช้บริการเป็นหลัก  7) ด้านการเป็นผู้นำด้านทรัพยากรสารสนเทศและการบริการ 8) ด้านการดำเนินงานที่เป็นเลิศ และ 9) ด้านการรวบรวมและประมวลที่เป็นระบบ   ส่วนปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มี 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านองค์กร  2) ด้านบุคคล 3) ด้านระบบและกระบวนการ  และ 4) ด้านเทคโนโลยี  เมื่อศึกษาสภาพจริงของการนำกลยุทธ์มาใช้พบว่า ห้องสมุดส่วนใหญ่มีการใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ทั้ง 9 ด้าน  ด้านที่นำมาใช้มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป ได้แก่ 1)  ด้านความรู้เป็นเสมือนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 2) ด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 3) ด้านความรับผิดชอบสินทรัพย์ความรู้ส่วนบุคคล 4) ด้านการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้  6)  ด้านการเป็นผู้นำด้านทรัพยากรสารสนเทศและการบริการ และ 7) ด้านการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ส่วนปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ เมื่อพิจารณเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ประกอบด้วย  ด้านเทคโนโลยีเป็นลำดับแรก  รองลงมาได้แก่ ด้านองค์กร ด้านบุคล และด้านระบบและกระบวนการ

Published
2019-12-27
How to Cite
แสนวา ศ. (2019). กลยุทธ์การจัดการความรู้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ . Information - อินฟอร์เมชั่น, 26(2), 45-61. Retrieved from http://infojournal.kku.ac.th/index.php/information/article/view/62

Most read articles by the same author(s)