Abstract
กล่าวถึง ความเป็นมาของอักษรไทน้อยหรืออักษรลาวเก่าที่เคยใช้อยู่ในชุมชนลุ่มน้ําโขงตอนกลาง ตั้งแต่สมัย พระยาโพธิสาลราชเจ้าแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่ง กรุงศรีอยุธยา ประมาณ 400 ปีล่วงมาแล้ว และคนลุ่มน้ําโขงยังคงใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ประเภท “คดีโลก” ตลอดมา จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อมีการแบ่งแยกดินแดน สองฝั่งโขงในยุคล่าอาณานิคมเป็นต้นมา อักษรไทน้อยค่อยๆ เลือนหายไปจากความนิยมของคนอีสาน ผู้เขียน ตระหนักถึงคุณค่าของอักษรไทน้อยในฐานะเป็นเครื่องมือในการบันทึกและสื่อบทอดวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มน้ํา โขง ประกอบกับกระแสการอนุรักษ์และฟื้นฟูอักษรท้องถิ่นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิทางภาษาขององค์การ
ยูเนสโกทําให้ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจที่จะบูรณาการอักษรไทน้อยสําหรับคอมพิวเตอร์ พร้อมอธิบายการใช้งาน
อักษรไทน้อย สําหรับคอมพิวเตอร์และข้อจํากัดต่างๆ
Downloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information