information journal

The development of learning community : the community library of Sukontharam Temple of Kongnang Sub-district, Tha Bo District, Nong Khai Province

Authors

วราภรณ์ พนมศิริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Author

Keywords:

การสร้างห้องสมุดชุมชน, การวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน , ห้องสมุดชุมชน, วัดสุคนธาราม , ชุมชนวัดสุคนธาราม

Abstract

          ห้องสมุดชุมชน วัดสุคนธาราม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 50 ห้องสมุดเพื่อน้อง 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจความต้องการของชุมชน การวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน การเสนอผลการวิเคราะห์การจัดตั้งห้องสมุดแก่ผู้เกี่ยวข้อง การดำเนินการจัดตั้งห้องสมุด การประเมินติดตามให้คำแนะนำในการจัดตั้งห้องสมุด และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด ผลการดำเนินงานมีดังนี้ การสำรวจความต้องการของชุมชน ได้แต่งตั้งคณะทำงาน มีการสำรวจความต้องการของชุมชน จานวน 2 ครั้ง โดยหารือร่วมกับเจ้าอาวาส คณะกรรมการหมู่บ้าน กำนัน พระภิกษุ ผู้ดูแลสถานที่ เพื่อกาหนดสถานที่จัดตั้งห้องสมุดวัดสุคนธาราม เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดในการพัฒนาห้องสมุดการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐาน ชุมชนตั้งอยู่ ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มีห้องสมุดของโรงเรียนซึ่งเปิดให้บริการเฉพาะวันและเวลาราชการ และห้องสมุดประชาชนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในอำเภอท่าบ่อ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าใช้บริการห้องสมุด จึงเป็นสาเหตุให้เจ้าอาวาสวัดสุคนธารามและกรรมการหมู่บ้านมีความต้องการที่จะจัดตั้งห้องสมุดชุมชนขึ้น 2) ข้อมูลด้านความพร้อมในการจัดตั้งห้องสมุด พบว่า สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการเป็นลำดับแรก คือ การจัดหางบประมาณและการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ อันดับที่สองคือ การจัดหาครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ชั้นหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับเป็นที่นั่งอ่านและสาหรับการทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ชั้นวางหนังสือพิมพ์ เป็นต้น การจัดหาเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดเป็นผู้ดูแลห้องสมุด การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมห้องสมุด PLS สาหรับการทำงานของเจ้าหน้าที่ และจัดหาสื่อการเรียนรู้อื่นๆ และอันดับที่สามคือ การปรับปรุงสถานที่ อาคารห้องสมุดมีความเหมาะสม และ 3) แผนการดำเนินงาน พบว่า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการจัดหาทุนในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ และครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ได้แก่ ชั้นหนังสือ ชั้นหนังสือพิมพ์ โต๊ะทำงานเจ้าหน้าที่ โต๊ะอ่าน และโต๊ะญี่ปุ่น พร้อมเบาะรองนั่ง การดาเนินการจัดตั้งห้องสมุด มีขั้นตอนการดำเนินการแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน เริ่มจาก 1) สำรวจความต้องการของชุมชนโดยการลงพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง เพื่อหารือกับเจ้าอาวาส คณะกรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กำนัน พระภิกษุ ผู้ดูแลห้องสมุด เพื่อให้ได้กรอบในการพัฒนาห้องสมุด 2) วิเคราะห์ความต้องการของชุมชนซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลด้านความพร้อมในการจัดตั้งห้องสมุด และแผนการดาเนินงาน 3) เสนอผลการวิเคราะห์การจัดตั้งห้องสมุดแก่ชุมชน และแผนงาน รวมทั้งปรับปรุงแผนงานร่วมกัน เพื่อให้ได้กรอบในการพัฒนาห้องสมุด 4) ดำเนินการจัดตั้งห้องสมุด นำข้อมูลที่ได้จากผลการวิเคราะห์ความต้องการไปดำเนินการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ และวัสดุครุภัณฑ์จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นขนย้าย จานวน 2 ครั้ง ในส่วนของการจัดทำระบบการจัดหมวดหมู่และระบบห้องสมุดอัตโนมัติดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอท่าบ่อจังหวัดหนองคาย ซึ่งมีคณะครูโรงเรียนบ้านกองนางและผู้นำชุมชนในการสร้างชุมชนยุวชนอาสารักษ์ห้องสมุดเป็นผู้ดำเนินการจัดบริการห้องสมุด มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนในชุมชนมีนิสัยรักการอ่านและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 5) กำหนดแนวทางของแผนพัฒนาห้องสมุดร่วมกับผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน วางแผนพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 6) ประเมินติดตาม ให้คำแนะนำในการจัดตั้งห้องสมุด โดยสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และห้องสมุดวิทยาเขตหนองคาย ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย การเสนอผลการวิเคราะห์การจัดตั้งห้องสมุดแก่ผู้เกี่ยวข้อง คณะทำงานได้จัดทำแผน 1 ปี เพื่อการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนของห้องสมุด รวมถึงเตรียมพร้อมสาหรับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ประกอบด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานห้องสมุด ด้านการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ และการเตรียมการสำหรับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ผลการติดตามและสภาพปัญหาจากการให้บริการในปัจจุบัน จากการให้บริการในปัจจุบัน คณะทำงานสำนักหอสมุด ได้ตรวจเยี่ยมห้องสมุดชุมชนวัดสุคนธาราม เพื่อนิเทศติดตามการดำเนินงาน มีผู้ใช้บริการโดยเฉลี่ยต่อเดือน จำนวน 30 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน และพบปัญหาจากการให้บริการในระยะ 4 เดือน พบว่า ยังไม่มีการติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับให้บริการ ไม่มีผู้ปฏิบัติงานประจำห้องสมุด มีหนังสือจำนวนมากยังไม่วิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการในฐานข้อมูลของห้องสมุด และวิธีการเก็บสถิติผู้เช้าใช้ห้องสมุดไม่เหมาะสม ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรปรับปรุงวิธีการเก็บสถิติให้สะดวกต่อผู้เข้าใช้บริการมากยิ่งขึ้น จัดหาเครื่องตรวจนับคนเข้าใช้บริการอัตโนมัติที่ใช้แล้ว โดยขอบริจาคจากห้องสมุดขนาดใหญ่ ติดตั้งและจัดสรรงบประมาณในการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรศึกษาและประยุกต์ใช้วิธีการบริหารจัดการจากร้านบริการอินเทอร์เน็ตเอกชนเพื่อควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตของห้องสมุด ทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอท่าบ่อ ควรมีแนวคิดที่จะย้ายศูนย์การเรียนย่อยของชุมชนให้มาเปิดการเรียนการสอน ณ ห้องสมุดฯ เพื่อที่ครูจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จะได้เป็นผู้รับดูแลห้องสมุดต่อไป และมอบหมายให้กำนันตำบล เป็นผู้รับผิดชอบหน้าที่ในการประสานกับเทศบาลตำบลในการจัดสรรและอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายระบบอินเทอร์เน็ตของห้องสมุด

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

  • วราภรณ์ พนมศิริ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Published

28-06-2016

How to Cite

พนมศิริ ว. (2016). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน: ห้องสมุดชุมชนวัดสุคนธาราม ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย: The development of learning community : the community library of Sukontharam Temple of Kongnang Sub-district, Tha Bo District, Nong Khai Province. อินฟอร์เมชั่น ✍ Information, 23(1), 49. https://infojournal.kku.ac.th/index.php/information/article/view/87