The Users Perception and Satisfaction with Public Relations of Khon Kaen University Library
Keywords:
การรับรู้ข่าวสาร, การประชาสัมพันธ์, ความพึงพอใจAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ 1) บุคลากร ได้แก่ อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรสายสนับสนุน 2) นักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 4) นักศึกษานานาชาติ 5) ศิษย์เก่าและผู้เกษียณอายุราชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6) สมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในจังหวัดขอนแก่น และ 7) บุคคลภายนอกและนักเรียน ที่ได้จากการนำข้อมูลที่มีในฐานข้อมูล ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Walai AutoLib) ข้อมูล ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2561 จำนวนประชากร 60,403 คน เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน ซึ่งเป็นการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านช่องทางการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวมผู้ใช้บริการจำนวนมากที่สุดรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 51.92 ด้านช่วงเวลาที่ต้องการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ผู้ใช้บริการจำนวนมากที่สุด มีความต้องการรับทราบข่าวสารในช่วงเวลา 16.00-20.00 น. ร้อยละ 45.10 2) ความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า ในภาพรวมผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระดับมาก (x̄=3.84) และในรายข้อมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ 1) สำนักหอสมุด มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารหลากหลายช่องทาง (x̄=3.87) 2) ผู้ใช้บริการมีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลประชาสัมพันธ์และข่าวสารของสำนักหอสมุด (x̄=3.84) 3) ข่าวสารจากสื่อการประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุดมีความรวดเร็ว (x̄=3.83) 4) ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุด มีความน่าสนใจและมีประโยชน์ (x̄=3.83) และ 5) เนื้อหาข่าวสารในสื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุด มีความชัดเจน เข้าใจง่าย (=3.83)
Downloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- นิติยา ชุ่มอภัย, ปณัทพร เรืองเชิงชุม, การปรับปรุงคุณภาพบริการดิจิทัล ด้วยการบูรณาการแบบจำลองอี-เอส-ควอล์ และแบบจำลองของคาโน เข้าสู่เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 25 No. 2 (2018): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561)