A Study of Website Elements and Website Usability Analysis of Government Ministry Websites in Thailand
Keywords:
องค์ประกอบเว็บไซต์, ความสามารถในการใช้งานของเว็บไซต์, เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ, การวิเคราะห์เว็บไซต์Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของเว็บไซต์และวิเคราะห์ความสามารถในการใช้งานเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวง ในประเทศไทย จำนวน 20 เว็บไซต์ ประชาชนผู้เคยเข้าใช้งานเว็บไซต์ จำนวน 427 คน และผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบบันทึกข้อมูลเว็บไซต์และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวงมีการพัฒนาเว็บไซต์เป็นไปตามองค์ประกอบตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ โดยพบว่า มี 5 องค์ประกอบที่มีการจัดทำบางข้อกำหนดครบทุกเว็บไซต์ คือ องค์ประกอบด้านการตั้งชื่อเว็บไซต์ภาครัฐ องค์ประกอบด้านข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหน่วยงาน องค์ประกอบด้านข้อมูลเปิดภาครัฐ องค์ประกอบด้านการมีส่วนรวมของประชาชน และองค์ประกอบด้านคุณลักษณะที่ควรมี
ประชาชนผู้เคยเข้าใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อความสามารถในการใช้งานเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวงโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรก คือ คู่มือสำหรับประชาชนสามารถใช้งานได้จริง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ข้อมูลข่าวสารที่แสดงไว้ทันต่อเหตุการณ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และข้อมูลข่าวสารและข้อมูลเปิดภาครัฐมีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ส่วนความสามารถในการใช้งานที่อยู่ในระดับน้อยที่สุดคือ ชื่อโดเมนสามารถจดจำได้ง่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- บุรัสกร จันทนราช, ศุมรรษตรา แสนวา, ประภาส พาวินันท์, ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารประสบการณ์ลูกค้ากับความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการหอสมุดแห่งชาติ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 29 No. 2 (2022): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)