Perception of Information on English Skills from Social Media of Ramkhamhaeng University Students
Keywords:
การรับสื่อสังคมออนไลน์, Facebook, YouTube, ทักษะภาษาอังกฤษ, นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับสารสนเทศด้านทักษะภาษาอังกฤษผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (3) ปัญหาการรับสารสนเทศด้านทักษะภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (4) เพื่อเปรียบเทียบการรับสารสนเทศ ปัญหาการรับสารสนเทศด้านทักษะภาษาอังกฤษ และการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตามเพศ อายุ และกลุ่มสาขาวิชาโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามคำแหง แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 24 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ t-test การทดสอบ F-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการจัดกลุ่มตามเนื้อหา ที่สอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีการรับและการใช้สารสนเทศด้านทักษะภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้ข้อมูลสื่อที่เป็นรูปภาพ วีดิทัศน์ จากการใช้ YouTube รองลงมาคือ การอ่านบทความ การแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันบนสื่อสังคมออนไลน์จากการใช้ Facebook (2) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 328 คน ใช้ YouTube และ จำนวน 260 คนใช้ Facebook เพื่อหาข้อมูลในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่านและการฟัง (3) ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เห็นว่าคำอธิบายการใช้ทักษะภาษาอังกฤษเข้าใจยาก บางครั้งอธิบายแตกต่างกัน (4) การเปรียบเทียบการรับสารสนเทศ ปัญหาการรับสารสนเทศด้านทักษะภาษาอังกฤษ และการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ พบว่า กลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศและอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่มีความแตกต่างกัน
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- วิสากร คำคุ้ม, ประภาส พาวินันท์, พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์, ศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี, การส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 25 No. 2 (2018): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561)
- บุรัสกร จันทนราช, ศุมรรษตรา แสนวา, ประภาส พาวินันท์, ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารประสบการณ์ลูกค้ากับความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการหอสมุดแห่งชาติ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 29 No. 2 (2022): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)