User Satisfaction in Khon Kaen University Library
Keywords:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สํานักวิทยบริการ, ความพอใจของผู้ใช้บริการ, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการห้องสมุด จํานวน 60 คน ซึ่งใช้บริการห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น 14 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 46.7 ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.6 ใช้บริการยืม-คืนทรัพยากร ร้อยละ 51.7 เข้าใช้ห้องสมุดทุกสัปดาห์ เมื่อจําแนกวัตถุ ประสงค์การใช้ห้องสมุดตามสถานภาพผู้ใช้บริการ พบว่า บุคลากรสายสนับสนุน (สาย ข./สายค./ลูกจ้าง) ร้อยละ 62.5 กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและสายผู้สอน ร้อยละ 60.0 ใช้บริการยืม-คืนทรัพยากรมากที่สุด ในขณะที่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ร้อยละ 45.8 ใช้บริการที่นั่งมากที่สุด ส่วนบุคคลภายนอกนั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ใช้บริการค้นคว้า ความถี่ในการใช้บริการ พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาตรี และสาย สนับสนุนส่วนใหญ่ ใช้บริการห้องสมุดทุกสัปดาห์ (ร้อยละ 60.7, 60.0 และ 37.5 ตามลําดับ) สําหรับสายผู้สอน ร้อยละ 40 ใช้บริการห้องสมุดทุกสัปดาห์และทุกวัน ช่วงเวลาในการใช้ห้องสมุดพบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.4 ใช้ บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. โดยอาจารย์จะใช้บริการในช่วงเวลานี้
ผู้ใช้บริการร้อยละ 91.7 พึงพอใจโดยรวมต่อบริการของห้องสมุด (ช่วงความพึงพอใจอยู่ระหว่าง 90.4 ถึง 93.0) โดยพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้ บริการ ผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อการให้คําแนะนําและตอบคําถามที่ชัดเจน และให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว มากที่สุด ด้านระเบียบข้อบังคับ ผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อระเบียบการยืมทรัพยากรและการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อการให้บริการตามลําดับก่อน-หลังมากที่สุด ด้าน สิ่งอํานวยความสะดวก ผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อสถานที่สะอาดเป็นระเบียบมากที่สุด และด้านทรัพยากร ผู้ใช้ บริการพึงพอใจต่อการบํารุงรักษามากที่สุด เมื่อทําการทดสอบสมมุติฐาน “ผู้ใช้บริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ขอนแก่นเห็นว่าบริการในด้านต่างๆ เหมาะสม มีมากกว่าร้อยละ 75 นั้น” พบว่า ผู้ใช้บริการห้องสมุดเห็นว่าบริการ ห้องสมุดเหมาะสมเป็นไปตามสมมติฐาน ยกเว้น 7 เรื่องซึ่งเกี่ยวกับจํานวนที่นั่ง ห้องน้ําสะอาด ที่จอดรถยนต์และ จักรยานยนต์ อุณหภูมิ ความพอเพียงของหนังสือ วารสาร และความทันสมัยของเนื้อหา
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- จีรภา สิมะจารึก, ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 12 No. 1 (2005): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2548)
- จีรภา สิมะจารึก, การวิเคราะห์การให้บริการสํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 10 No. 1 (2003): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 2546
- จีรภา สิมะจารึก , ขนาดตัวอย่างและการทดสอบ “ความพึงพอใจ” , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 12 No. 1 (2005): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2548)