The Use of Humanities and Social Science Resources of Khon Kaen University Library
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลโปรแกรม INNOPAC โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีให้บริการ และสถิติการยืมทรัพยากรใน ระบบยืม-คืนอัตโนมัติ ระหว่างปีการศึกษา 2547 ภาคเรียนที่ 2 (พฤศจิกายน 2547 – มีนาคม 2548) และปีการศึกษา 2548 ภาค เรียนที่ 1 (มิถุนายน – ตุลาคม 2548) สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ
100
ผลการศึกษา พบว่า หอสมุดกลาง มีทรัพยากรมากที่สุดร้อยละ 61.70 รองลงมา คือ กลุ่มห้องสมุดสาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีร้อยละ 17.86 และอันดับ 3 คือ ห้องสมุดกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีร้อยละ 11.81 และกลุ่มห้องสมุดที่มีทรัพยากรน้อยที่สุด คือห้องสมุดกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีร้อยละ 8.63 จําแนกตาม หมวดหมู่ของทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า มีหมวด H สังคมศาสตร์ มากที่สุด คือ ร้อยละ 32.70 อันดับสอง คือ หมวด L การ ศึกษา ร้อยละ 17.07 และอันดับสาม คือ หมวด P ภาษาและวรรณคดี ร้อยละ 10.71 และหมวด A ความรู้ ทั่วไป มีน้อยที่สุด
ร้อยละ 0.52
ผลการศึกษาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ขอนแก่น พบว่า ในหอสมุดกลางมีการใช้หมวด H สังคมศาสตร์ มากที่สุด ร้อยละ 33.02 อันดับสอง คือ หมวด P ภาษา และวรรณคดี ร้อยละ 15.51 อันดับสาม คือ หมวดนวนิยายและเรื่องสั้น ร้อยละ 6.92 ห้องสมุดกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ พบว่า มีการใช้หมวด L การศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 6.22 รองลงมา คือ หมวด H สังคมศาสตร์ ร้อยละ 2.45 อันดับสาม คือ หมวด B ปรัชญา ศาสนาและจิตวิทยา ร้อยละ 1.25 ห้องสมุดกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พบว่า มี การใช้หมวด H สังคมศาสตร์ มากที่สุด ร้อยละ 4.93 อันดับสอง คือ หมวด N ศิลปะร้อยละ 2.06 การยืมอันดับสาม คือ
หมวด B ปรัชญา ศาสนาและจิตวิทยา ร้อยละ 0.61 และห้องสมุดกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ พบว่า มีการใช้หมวด H
สังคมศาสตร์ มากที่สุด ร้อยละ 3.65 อันดับสอง คือ หมวด B ปรัชญา ศาสนาและจิตวิทยา ร้อยละ 1.00 อันดับสาม คือ หมวด P ภาษาและวรรณคดี ร้อยละ 0.78
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- เรณุกา สันธิ, พรชนิตว์ ลีนาราช, สมรรถนะการรู้ดิจิทัลสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 29 No. 1 (2022): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565)
- ประภัย สุขอิน, พรชนิตว์ ลีนาราช, การศึกษาสภาพการจัดบริการและแนวคิดการจัดบริการในอนาคต ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนําในประเทศไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 26 No. 1 (2019): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562)
- ประภัย สุขอิน, พรชนิตว์ ลีนาราช, ปัจจัยความสำเร็จในการจัดบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 29 No. 1 (2022): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565)
- ทานตะวัน มหาวรรณ์, พรชนิตว์ ลีนาราช, ความต้องการและปัญหาการใช้ห้องสมุดประชาชนของผู้สูงอายุในภาคเหนือของไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 28 No. 1 (2021): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564)
- พรชนิตว์ ลีนาราช , มาธูร ศาสตรวาทิต , วิเคราะห์สัดส่วนของจํานวนทรัพยากรที่มีกับจํานวนการใช้ของ ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 12 No. 2 (2005): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2548)