Public Library Service Needs and Problems of the Elderly In Northern Thailand
Keywords:
การใช้ห้องสมุดประชาชน, ผู้สูงอายุในภาคเหนือAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการใช้บริการความต้องการและปัญหาการใช้บริการห้องสมุดสำหรับผู้สูงอายุในห้องสมุดประชาชนภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่มารับบริการในห้องสมุดประชาชนในภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ 1) ห้องสมุดประชาชนจังหวัด จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และลำปาง 2) ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เชียงราย และแพร่ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการในห้องสมุดประชาชนภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) ห้องสมุดประชาชนประจำจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนบริการห้องโสตทัศนศึกษา ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เช่น มุมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มุมมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมุมข้อมูลท้องถิ่น รวมถึงหนังสือ เอกสารและสื่อโดยทั่วไป และ 2) ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” คือ ห้องสมุดประชาชนขนาดกลาง โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 36 พรรษา ในปี พ.ศ. 2534 ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งห้องสมุดประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นอาคาร 2 ชั้น ห้องชั้นบนจะจัดเป็นห้องที่มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนหรือท้องถิ่นนั้นๆ มีห้องเฉลิมพระเกียรติที่มีการจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมถึงพระราชวงศ์ที่เกี่ยวข้อง ชั้นล่างจัดให้บริการหนังสือ เอกสารและสื่อโดยทั่วไป ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะจำนวนนับไม่ถ้วน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 พบว่าได้ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการบริการห้องสมุด จำแนกออกเป็น 8 ด้าน เรียงตามลำดับความต้องการคือ 1) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ บริการเครื่องปรับอากาศ ความสะอาดและเป็นระเบียบ และมีอากาศถ่ายเทสะดวก 2) ด้านบริการของห้องสมุด ได้แก่ บริการจัดส่งทรัพยากรถึงมือ บริการจุดช่วยเหลือการสืบค้น และบริการจัดส่งรายชื่อหนังสือ 3) ด้านบริการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องสมุด ได้แก่ บริการโซฟานั่งเบาะนุ่ม มีพนักพิงสำหรับผู้สูงอายุ บริการพื้นที่นั่งอ่านสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และบริการมุมน้ำดื่ม 4) ด้านบริการการสอนและอบรม ได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารและสุขภาพ การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยบริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้น และการจัดอบรมการใช้สมารrทโฟนสำหรับผู้สูงอายุ 5) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ประกอบด้วยสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ ได้แก่ หนังสือที่มีเนื้อหาด้านอาหารหรือสุขภาพ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านศาสนา สิ่งพิมพ์ประเภทนวนิยาย ได้แก่ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ นวนิยายสืบสวนสอบสวน และนวนิยายผจญภัย และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสารบันเทิงหรือนิตยสาร และวารสารวิชาการ 6) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายนอกห้องสมุด ได้แก่ มีทางเดินเข้าห้องสมุดที่สะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ทางลาดขึ้น-ลงห้องสมุดแทนหรือคู่กับบันไดและที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ 7) ด้านการจัดกิจกรรมของห้องสมุด ได้แก่ การจัดทำโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ การเสวนาประวัติศาสตร๋ท้องถิ่น และกิจกรรมอาสาสมัครในห้องสมุดของผู้สูงอายุ และ 8) ด้านทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ ไดแก่ หนังสือเสียง ภาพยนตร์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ผลการพิสูจน์สมมติฐาน ข้อแรกพบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้ห้องสมุดประชาชน 2 ประเภท มีความต้องการบริการไม่แตกต่างกัน หรือปฏิเสธสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน 3 ด้าน คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ด้านบริการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องสมุดและด้านทรัพยากรสารสนเทศ และข้อสอง พบว่า สอดคล้องกับสมมติฐานเพียง 1 ด้าน คือ ผู้สูงอายุที่มีช่วงอายุแตกต่างกันต้องการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนด้านปัญหาการใช้บริการห้องสมุดสำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุประสบปัญหาการใช้ห้องสมุดประชาชน จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศไม่ทันสมัย ไม่มีความหลากหลายครอบคลุม และมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ 2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ห้องสมุดมีอากาศร้อนและอากาศไม่ถ่ายเท ไม่มีการจัดพื้นที่นั่งอ่านสำหรับผู้สูงอายุ และไม่มีที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) ด้านบุคลากร อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ บุคลากรไม่มีมนุษยสัมพันธrกับผู้ใช้บริการ ไม่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการให้บริการ และไม่เอาใส่ใจหรือกระตือรือร้นในการให้บริการ
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- เรณุกา สันธิ, พรชนิตว์ ลีนาราช, สมรรถนะการรู้ดิจิทัลสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 29 No. 1 (2022): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565)
- ประภัย สุขอิน, พรชนิตว์ ลีนาราช, การศึกษาสภาพการจัดบริการและแนวคิดการจัดบริการในอนาคต ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนําในประเทศไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 26 No. 1 (2019): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562)
- ประภัย สุขอิน, พรชนิตว์ ลีนาราช, ปัจจัยความสำเร็จในการจัดบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 29 No. 1 (2022): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565)
- พรชนิตว์ ลีนาราช, ยุวดี มโนมยิทธิกาญจน์, การศึกษาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 13 No. 2 (2006): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2549)
- พรชนิตว์ ลีนาราช , มาธูร ศาสตรวาทิต , วิเคราะห์สัดส่วนของจํานวนทรัพยากรที่มีกับจํานวนการใช้ของ ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 12 No. 2 (2005): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2548)