Human Capital Management Model for the University for Local Development
Keywords:
ทุนมนุษย์, การจัดการทุนมนุษย์, ตัวแบบการจัดการทุนมนุษย์, มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏAbstract
ทุนมนุษย์ ถือเป็นต้นทุนสำคัญที่จะสนับสนุนให้การดำเนินภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบการจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์และองค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยสถิติอ้างอิง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแบบการจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พบว่า ตัวแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างมีนัยสำคัญกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทุกส่วนประกอบพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ X2 -test=213.95, df=159, p=0.00240 จากนั้นนำไปพัฒนาร่างตัวแบบและใช้แบบประเมินร่างตัวแบบเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญรวมจำนวน 21 คน เพื่อพิจารณาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ผลการวิจัยได้ตัวแบบการจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นนี้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เป้าหมายของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 4 ข้อ ตัวบ่งชี้ความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 58 ตัวบ่งชี้คุณลักษณะของทุนมนุษย์ รวมทั้งสิ้น 78 ข้อ กระบวนการจัดการทุนมนุษย์ 6 กระบวนการ และปัจจัยที่จะสนับสนุนการจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 21 ปัจจัย
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- อภิศักดิ์ พัฒนจักร, กุลธิดา ท้วมสุข, ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายการพัฒนาจังหวัดสู่การเป็นนครไอซีที , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 23 No. 2 (2016): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)
- ประสิทธิ์ ประทุมรัตน์, กุลธิดา ท้วมสุข, สภาพการจัดบริการห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 27 No. 1 (2020): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563)