Knowledge Management and Development Knowledge Base System of Lampang Tai Lue Culture
Keywords:
การจัดการความรู้, ระบบฐานความรู้, ลำปาง, วัฒนธรรมไทลื้อAbstract
วัฒนธรรมไทลื้อจังหวัดลำปางมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ประเพณีและการดำรงชีวิต ซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์ของตนเอง แต่ในยุคปัจจุบันการรับวัฒนธรรมอื่นเข้ามาทำให้วัฒนธรรมไทลื้อเริ่มสูญหายไป ผู้สูงอายุในชุมชนต้องการให้ลูกหลานได้เรียนรู้และสืบทอดวัฒนธรรมไทลื้อต่อไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้วัฒนธรรมไทลื้อ จังหวัดลำปาง และเพื่อการพัฒนาฐานความรู้ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมไทลื้อชุมชนบ้านกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Develop: R&D) รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรม และจัดการความรู้วัฒนธรรมไทลื้อ จากประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน พบว่า วัฒนธรรมไทลื้อและสามารถนำมาประยุกต์จัดแบ่งประเภทตามการจัดแบ่งความรู้วัฒนธรรมตามองค์การทรัพย์สินปัญญาโลก (WIPO) ดังนี้ 1) การแต่งกาย 2) การทอผ้า 3) สิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรม 4) ศิลปะการแสดงและดนตรี 5) ภาษาไทลื้อ 6) อาหาร และ 7) การละเล่น และได้ศึกษาถึงกระบวนการจัดการความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยทำให้จัดเก็บความรู้วัฒนธรรมไทลื้อ จังหวัดลำปาง ซึ่งประกอบด้วยความรู้ของวัฒนธรรมด้านต่างๆ ลักษณะของวัฒนธรรม ได้แก่ ประวัติและความเป็นมา การผลิต การนำเสนอ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัฒนธรรมที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทลื้อ ปัญหาของการจัดการความรู้คือ การขาดการบันทึกความรู้เนื่องจากความรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวผู้สูงอายุและการขาดการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาและจัดเก็บความรู้ที่มีอยู่ และการเผยแพร่ความรู้ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้สนใจและอนุรักษ์วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป มีฐานข้อมูลความรู้ที่สามารถเพิ่มเติมแก้ไขข้อมูล จัดเก็บสารสนเทศที่หลากหลาย เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ เสียง และตัวอักษร ตลอดจนมีช่องทางการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ของชุมชนไทลื้อ
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information