Keywords:
การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, สาขามนุษยศาสตร์Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำแนกตามเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ จำนวน 374 คน จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 9 แห่ง ใน 4 กลุ่มสาขาวิชาคือ 1) ภาษาและภาษาศาสตร์ 2) วรรณคดีและวัฒนธรรม 3) ประวัติศาสตร์และโบราณคดี 4) ปรัชญา ศาสนาและเทววิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test และ One Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐส่วนใหญ่มีสภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยมีรูปแบบการอ่านเนื้อหาเฉพาะส่วนอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.34) ประเภทเนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็น หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.24) เพื่อทำรายงานและหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.18) มีวิธีการเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเครื่องมือช่วยค้นที่เป็นเสิร์จเอ็นจิ้นอยู่ในระดับมาก ( X = 4.72) 2) เปรียบเทียบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา โดยเพศชายมีการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งเล่มมากกว่าเพศหญิง เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่านักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 26 ปี มีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากกว่านักศึกษาที่มีอายุ 26 ปี ขึ้นไป เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่านักศึกษาระดับปริญญาเอก มีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาระดับปริญญาโท เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชานักศึกษาพบว่ากลุ่มสาขาวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ มีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาภาษาและภาษาศาสตร์
Downloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- ภาวิณี แสนชนม์, น้ำทิพย์ วิภาวิน, ฉันทนา เวชโอสถศักดา, พธู คูศรีพิทักษ์, สภาพและปัญหาการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าย้อมคราม , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 25 No. 2 (2018): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561)
- น้ำทิพย์ วิภาวิน, วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์, การคัดเลือกมาตรฐานสากลสำหรับการจัดการข5อมูลผลการวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 28 No. 1 (2021): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564)
- พิสุทธิ์ ศรีจันทร์, น้ำทิพย์ วิภาวิน, ทัดทอง พราหมณี, สุทธินันธ์ ชื่นชม, ทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 27 No. 2 (2020): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563)
- ศิวพร ชาติประสพ, น้ำทิพย์ วิภาวิน, ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์, การใช้สารสนเทศเพื่อทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 26 No. 2 (2019): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562)
- ประภัสศรี โคทส์, น้ำทิพย์ วิภาวิน, สุนันทา ชูตินันท์, โกวิท รพีพิศาล, สภาพการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 26 No. 1 (2019): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562)
- จุฑารัตน์ นกแก้ว, น้ำทิพย์ วิภาวิน , ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ , กรอบวัฒนธรรมบริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 19 No. 2 (2012): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555)