The Curriculum Development Guidelines for the Department of Information Management for Public and Private Sectors, Faculty of Humanities and Social Sciences, Yala Rajabhat University
Keywords:
การพัฒนาหลักสูตร; สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ; หน่วยงานภาครัฐและเอกชนAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและความจ าเป็นในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ สาขาวิชาการ จัดการสารสนเทศภาครัฐและเอกชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย (1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ได้แก่ผู้ใช้บัณฑิต หน่วยงานหรือองค์กรด้านสารสนเทศศาสตร์ และ ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน อาจารย์ในสาขาวิชา (2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้น พื้นฐาน ได้แก่ ผู้ประกอบการท้องถิ่น ห้างร้านในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริษัทเอกชน ผู้ที่คาดว่าจะเข้าศึกษา และ ชุมชน และ (3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นรอง ได้แก่ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในสามจังหวัดชายแดนใต้ และองค์กรอิสระ โดย กลุ่มตัวอย่างอยู่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 173 คน ได้มาจากการเลือก ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อความเหมาะสมในการวิจัย โดยเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม แบบ สัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และประมวลผลข้อเสนอแนะและปัญหา
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บัณฑิต ต้องการบัณฑิตที่มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบมากกว่า ด้านอื่น อยู่ในระดับมากที่สุด ( xˉ = 4.67) ส่วนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประกอบการ และองค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เห็นด้วยกับการออกแบบหลักสูตรที่มีการจัดการสอนแบบบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการจัดการ สารสนเทศ การบริหารองค์กรภาครัฐ รวมถึงการจัดท ากลุ่มวิชาเสริมเป็นหลักสูตรระยะสั้น ทั้งนี้ควรเพิ่มรายวิชาที่ส่งเสริม ทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ เน้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการ สื่อสารที่ดี ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การปฏิบัติงานจริงได้ เพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ และตลาดแรงงานในอนาคต โดยข้อค้นพบดังกล่าว สามารถน าไปพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องตามเกณฑ์การประกันคุณภาพ การศึกษาภายในระดับหลักสูตร (Asean University Network Quality Assurance : AUN-QA V.4) ในการก าหนดกลุ่มผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดเครื่องมือและวิธีการกลั่นกรองการศึกษาความต้องการจ าเป็นในการพัฒนาหลักสูตร โดยปราศจาก ความลำเอียง สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับนำไปออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร ให้มีความครบถ้วน ทันสมัย พร้อมใช้งาน และมีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
Downloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 วารสารอินฟอร์เมชั่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- จารุณี การี, บอร์ดเกมดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 30 No. 2 (2023): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566)
- บุปผา ไชยแสง, นูรซีลา ยะโกะ, อามีณีย์ มามะ, การพัฒนาเครื่องมือในการสร้างแอปพลิเคชัน โดยใช้ Google AppSheet เพื่อการบริหารจัดการครุภัณฑ์ ฝ่ายงานวิทยบริการและสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 30 No. 2 (2023): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566)
- บุปผา ไชยแสง, การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบอินโฟกราฟิกร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) สำหรับอุทยานการเรียนรู้ (TK Park)ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 30 No. 1 (2023): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2566)
- ชินวัจน์ งามวรรณากร, จารุณี การี, การพัฒนานวัตกรรมคลังข้อสอบและระบบการสอบออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 30 No. 2 (2023): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566)
- นูรีดา จะปะกียา, คอลีเยาะ เจะโด, พอหทัย ซุ่นสั้น, การพัฒนาต้นแบบแหล่งการเรียนรู้ สื่อ และนวัตกรรมภาษาสำหรับผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการผ้าบาติกเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเสริมเศรษฐกิจฐานรากใน 3 จังหวัดชายแดนใต้รองรับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 31 No. 2 (2024): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2567)
- จารุณี การี, ความต้องการและแนวทางการดำเนินงานคลังปัญญาตามแผนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 26 No. 2 (2019): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562)
- บุปผา ไชยแสง, นูรีดา จะปะกียา, จารุณี การี, ชุติมา คำแก้ว, ชินวัจน์ งามวรรณากร, ความต้องการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดยะลา , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 24 No. 2 (2017): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)
- จารุณี การี, นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านและเขียนภาษาไทยของครูระดับชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 28 No. 2 (2021): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน-ธันวาคม 2564)
- บุปผา ไชยแสง, ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ วิชาสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 26 No. 1 (2019): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562)