Innovation to Promote Thai Language Reading and Writing of Elementary School Teachers in the Three Southern Border Provinces
Keywords:
นวัตกรรมส่งเสริมการอ่าน, นวัตกรรมส่งเสริมการเขียนAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สํารวจการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านและเขียนภาษาไทยของครูระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 195 แห่ง ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกําหนดโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนที่ค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 มีความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 195 แห่ง และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ทั้งนี้ ผู้วิจัยกําหนดผู้ให้ข้อมูลเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษาหรือเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษาโรงเรียนละ 2 คน จํานวน 195 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จํานวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ครูระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านและเขียนภาษาไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลําดับค่าเฉลี่ย 3 ลําดับแรก ดังนี้ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ ด้านนวัตกรรมวิธีการสอน และด้านนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ตามลําดับ เมื่อพิจารณานวัตกรรมที่ถูกนําไปใช้มากที่สุดในแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีการนํานวัตกรรมการสอนซ่อมเสริมไปใช้มากที่สุด 2) ด้านนวัตกรรมวิธีการสอน มีการนํานวัตกรรมการสอนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการกลุ่มมากที่สุด 3) ด้านนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ มีการนํานวัตกรรมแบบฝึกทักษะไปใช้มากที่สุด 4) ด้านนวัตกรรมเทคนิคการสอน มีการนํานวัตกรรมกิจกรรมเรียนปนเล่นไปใช้มากที่สุด และ 5) ด้านนวัตกรรมรูปแบบการสอน มีการนํานวัตกรรมการจัดการเรียนรูปแบบ CIPPA Model ไปใช้มากที่สุด โดยครูระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความถี่ในการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านและเขียนภาษาไทยเป็นประจํา (ทุกสัปดาห์) ส่วนการศึกษาปัญหาในการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านและเขียนภาษาไทยของครูในระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่า ครูระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบปัญหาการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านและเขียนภาษาไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ขาดหลักสูตรอบรมเรื่องการผลิต/การใช้นวัตกรรม
Downloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 อินฟอร์เมชั่น ✍ Information
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Information
How to Cite
Most read articles by the same author(s)
- จารุณี การี, บอร์ดเกมดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 30 No. 2 (2023): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566)
- ชินวัจน์ งามวรรณากร, จารุณี การี, การพัฒนานวัตกรรมคลังข้อสอบและระบบการสอบออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 30 No. 2 (2023): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566)
- บุปผา ไชยแสง, นูรีดา จะปะกียา, จารุณี การี, ชุติมา คำแก้ว, ชินวัจน์ งามวรรณากร, ความต้องการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดยะลา , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 24 No. 2 (2017): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)
- จารุณี การี, ความต้องการและแนวทางการดำเนินงานคลังปัญญาตามแผนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , อินฟอร์เมชั่น ✍ Information: Vol. 26 No. 2 (2019): อินฟอร์เมชั่น ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562)